Loading
Search In RotTourThai.com


กลับไป   Forums > RotTourThai.com > คลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทย
คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน กระทู้ใหม่วันนี้

 
 
คำสั่งเพิ่มเติม ค้นหาในหัวข้อนี้ เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-12-2010, 05:44 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน [เอกสารเก่าเกี่ยวกับรถทัวร์ไทย]สัมภาษณ์พิเศษ คุณถาวร นิโรจน์ เจ้าของถาวรฟาร์ม

สัมภาษณ์พิเศษ คุณถาวร นิโรจน์ เจ้าของถาวรฟาร์ม

จากหนังสือครบรอบวันสถาปนาบริษัทขนส่ง จำกัด ปีที่ 51 พ.ศ.2524 หน้า 74 โดย เกริกศักดิ์ กองศิลป์



จากชั้นหนังสือภาษาไทย หมวด He ชั้น 3 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม


1. บทนำ

โดยที่ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของบริษัทขนส่ง จำกัด ก็คือจัดระเบียบรถร่วม และให้ความเป็นธรรมแก่รถร่วมทุกคัน ประกอบกับตามข้อเท็จจริงปรากฎว่า ในจำนวนรถที่ติดตรา บขส. ที่วิ่งอยู่ทั้งหมดประมาณ 5,000 คัน ทั่วประเทศนั้น ร้อยละ 90 เป็นของรถร่วม และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่เป็นรถของบริษัทขนส่ง จำกัดเอง ดังนั้น การที่ท่านผู้อ่านจะทำความรู้จักกับเจ้าของรถร่วมสำค ัญสักรายหนึ่ง น่าจะทำให้เห็นภาพพจน์และมีความเข้าใจเกี่ยวกับข่ายง านการเดินรถของบริษัทขนส่ง จำกัด ดียิ่งขึ้น

และโดยที่บริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด เป็นบริษัทรถร่วม บขส. ที่มีชื่อเสียง(ในยุคนั้น) เป็นที่คุ้นหูของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ซึ่งนิยมนั่งรถปรับอากาศชั้ น 1 สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เป็นอย่างดี จึงขอนำเสนอเรื่องบางตอนจากการสัมภาษณ์คุณถาวร นิโรจน์ เจ้าของและประธานกรรมการบริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด ซึ่งสัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2523 ณ สำนักงานบริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ ดังต่อไปนี้...



2. ทำไมจึงเป็นถาวรฟาร์ม

บริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด แม้จะจดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด เมื่อปี พ.ศ.2506 แต่ตามความเป็นจริงแล้ว กิจการของบริษัทฯ นับตั้งแต่คุณถาวร นิโรจน์ ซื้อรถคันแรกมาจนถึงปัจจุบัน บริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด ก็มีอายุถึง 30 ปีแล้ว (ตอนนั้นปี 2523 ก่อตั้งมา 30 ปี ก็ต้องก่อตั้งในปี 2493) และขณะนี้ ก็มีรถโดยสารทั้งสิ้น 290 คัน โดยเป็นรถปรับอากาศชั้น 1 จำนวน 50 คัน

เรื่องของเรื่องก็เนื่องมาจากว่า เมื่อคุณถาวร ซึ่งเป็นชาวนครสวรรค์โดยกำเนิดและได้รับการศึกษาจากโ รงเรียนประจำจังหวัดชาย จนกระทั่งจบชั้น ม.2 แล้วก็ไปเรียนต่อที่เทพศิรินทร์ในกรุงเทพฯ จนสำเร็จ แล้วก็ไปเรียนอาชีวะ เสร็จแล้วก็ต้องอพยพหลบลูกระเบิดของสงครามโลกครั้งที ่ 2 ย้ายไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลับมาเริ่มอาชีพครั้งแรกที่จังหวัดนครสวรรค์ในปี พ.ศ.2493

“พ่อค้าในตลาดนครสวรรค์ เป็นคนจีนส่วนใหญ่ เขาพยายามไม่ยอมให้เราเข้าไปมีส่วนในกิจการของเขา มีแต่จะชวนให้เราเป็นลูกจ้างอยู่อย่างเดียว” คุณถาวรกล่าวและเล่าต่อไปว่า “เราก็เลยคิดว่า ควรจะมีหุ้นส่วนเป็นของตนเอง เพราะไม่อย่างนั้น อนาคตของเราก็ไม่สามารถที่จะก้าวหน้า หรือเดินก้าวไปได้”

คุณถาวรขณะนั้นอายุ 23 ปี ก็เลยตัดสินใจซื้อรถคันแรกมา 1 คัน จากบริษัทดีทแฮม โดยซื้อเป็นเงินผ่อน ในราคาคันละ 42,000 บาท เป้นรถออสติน 530 แล้วก็นำมาต่อตัวถังเสร็จแล้ว นำมาวิ่งจากอำเภอเมืองวไปอำเภอบรรพตพิสัย ต่อมาอีก 3 ปี เมื่อผ่อนรถคันแรกหมด ก็ซื้อรถคันที่ 2

“ลักษณะของรถโดยสารในสมัยนั้น มันไม่เหมือนกับรถบัสอย่างเป็นอยู่ในขณะนี้” คุณถาวรอธิบายให้ฟัง “มันเป็นรถแบบครึ่งบรรทุกครึ่งโดยสารแบบลักษณะรถสองแ ถว ขาไปจากอำเภอเมืองไปอำเภอลาดยาว เราก็รับคนโดยสารไป แล้วขากลับจากอำเภอลาดยาวมาอำเภอเมือง เราก็รับจ้างบรรทุกข้าวเปลือกมาจ่ายให้กับทางโรงสีเข า”

พอหลังจากคุณถาวรมีรถประมาณ 4 คัน ระยะนั้นก็บรรทุกผู้โดยสารไปยังอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เที่ยวกลับบรรทุกข้าวมาวันละประมาณ 20 เกวียนเป้นประจำ ทำให้กิจการของคุณถาวรมีรายได้ที่แน่นอน

ระยะนี้เองคุณถาวร มีเวลาว่างจากกิจการเดินรถและวันหนึ่งก็เดินทางไปกรุ งเทพฯ เดินผ่านหน้าร้านรวงทอง หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ก็เห็นป้ายเขียนประกาศเชิญชวนให้ซื้อไก่นกกระทาให้ไป เลี้ยง โดยเขียนว่า “เลี้ยงง่ายตายยาก ไข่มากกินน้อย”

ด้วยนิสัยรักสัตว์ คุณถาวรจึงได้ซื้อไก่นกกระทามาเลี้ยง 4-5 ตัว แล้วก็ซื้อหนังสือของหลวงสุวรรณวาจกสิกิจ มาอ่านเล่มหนึ่ง เล่มสอง แล้วเกิดความสนใจ ใช้เวลาว่างที่มีหลังปล่อยรถแล้ว (ปล่อยรถตี 4 ถึง 2 โมงเช้า) อ่านตำราเลี้ยงไก่และไปซื้อลูกไก่มาจากมหาวิทยาลัยเก ษตรศาสตร์ครั้งแรก 25 ตัว ต่อมาก็เพิ่มเป็น 50-100 ตัว ทดลองอยู่ 3-4 ปี หาสถิติ ข้อมูล ทดลองและศึกษา จากการอ่านตำราต่างๆ จนมั่นใจ จึงได้ขยายงานการเลี้ยงไก่เป็น 500 ตัว เป็น 1,000 ตัว 2,000 ตัว จนกระทั่งภายหลังเลี้ยงถึง 4-5 หมื่นตัว

ระยะนั้นมีการสร้างเขื่อนภูมิพลมีคนงานมากประมาณ 10,000 คน ประกอบกับยังไม่มีใครเลี้ยงไก่กันมากนัก คุณถาวร จึงได้ส่งไข่ไปขายที่เขื่อนประมาณวันละ 5,000 – 10,000 ฟอง ที่เหลือก็ส่งไปขายในตัวจังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ไล่ลงมา กำแพงเพชร และชัยนาท

นอกจากนี้ คุณถาวร ยังสั่งไก่พันธุ์ดีๆ จากสหรัฐฯ เข้ามาผสมขาย มีกิตติศัพท์ไปไกลถึงจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม

ประกอบกับกิจการเดินรถโดยสารก็ดีขึ้น เพราะการคมนาคมดีขึ้น เส้นทางเดินรถของคุณถาวร ก็ขยายยาวขึ้น

คุณถาวรก็เกิดความคิดหาวิธีการโฆษณากิจการของฟาร์มเล ี้ยงไก่ไข่ โดยเขียนโฆษณาติดที่กันชนของรถโดยสารว่า “ถาวรฟาร์ม” ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง วิ่งรถไปทั่วภาคเหนือทั้งหมด

คุณถาวรสรุปว่า “ต่อมามีการขอสัมปทานรถ แล้วทางกระทรวงคมนาคมก็บอกผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอสัมปทาน ได้ ควรจะต้องเป็นนิติบุคคล” คุณถาวรเลยตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทฯ เมื่อปี พ.ศ.2506 โดยใช้เชื่อว่า “บริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด”
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
 



กฎการส่งข้อความ
คุณไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้
คุณไม่สามารถตอบกระทู้ได้
คุณไม่สามารถแนบไฟล์ได้
คุณไม่สามารถแก้ไขกระทู้ของคุณเองได้

โค้ด vB ใช้ได้
[IMG] โค้ด ใช้ได้
โค้ด HTML ใช้ได้
กระโดดไป


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:00 PM


Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.