Loading
Search In RotTourThai.com


กลับไป   Forums > RotTourThai.com > คลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทย
คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน กระทู้ใหม่วันนี้

ตอบกลับ
 
คำสั่งเพิ่มเติม ค้นหาในหัวข้อนี้ เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 05-01-2010, 02:27 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน [เอกสารเก่า+ข้อมูลเทคนิค]เชิดชัยอุตสาหกรรม

บทความจากหนังสือที่ทำการค้นคว้ามานี้ เห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจดี แม้จะเป็นข้อมูลเก่าที่ไม่เป็นปัจจุบัน แต่ก็ทำให้ได้รู้ ว่าในสมัยนั้น เรื่องราวของรถทัวร์มีที่มายังไง เทคโนโลยีสมัยนั้น ต่างจากสมัยนี้ยังไง เชิญติดตามอ่านได้ตามข้างล่างนี้ครับ

เชิดชัยอุตสาหกรรม

วารสารการขนส่ง ปีที่ 9 ฉบับที่ 101 ธันวาคม 2517 หน้า 7-11
จากชั้นหนังสือวารสาร หมวด ก ชั้น 3 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม


-----------------------------------------------------------------------------------------

ในปี 2516 ได้มีการลงทุนเพิ่มรถโดยสารประจำทาง ประมาณกว่าพันคัน คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 220 ล้านบาท(ในสมัยนั้น) รถโดยสารที่ผู้ประกอบการขนส่งนำออกให้บริการนี้ ส่วนมากต่อตัวถังโดยอู่ต่อตัวถังของเอกชนในส่วนต่างๆ ของประเทศ ท่านผู้อ่านที่เคยใช้บริการรถโดยสารประจำทาง จะสังเกตเห็นได้ว่า ในจำนวนรถใหม่ที่ออกวิ่งให้บริการนั้น จะมีชื่อติดที่หน้าหรือท้ายรถเป็นภาษาอังกฤษว่า “Cherdchai” อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถที่วิ่งให้บริการจากและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ทราบรายละเอียด วารสารการขนส่งจึงได้ถือโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการของห้า งหุ้นส่วนที่ใช้ชื่อข้างต้น และได้สอบถามรายละเอียดต่างๆ ดังได้นำเสนอแก่ผู้อ่านต่อไปนี้

เชิดชัยอุตสาหกรรม เป็นโรงงานประกอบตัวถังรถโดยสาร ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 100/12 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีคุณวิชัยและคุณสุจินดา เชิดชัย เป็นเจ้าของและผู้จัดการ จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 51,200 ตารางเมตร (32 ไร่) เป็นพื้นที่โรงงาน 9,000 ตารางเมตร (5.6 ไร่) มีคนงานประมาณ 700 กว่าคน และสามารถประกอบตัวถังรถโดยสารได้ 30-40 คันต่อเดือน

แรกเริ่มเดิมที คุณวิชัย เชิดชัย ได่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำงานอยู่ที่ชลบุรี และเสี่ยงโชคเรื่อยมาจนถึงจังหวัดยะลา ต่อมาเลิกเป็นลูกจ้าง หันมาวิ่งเรือและเปิดกิจการอู่ต่อเรือขายอยู่แถวๆ บางปะกง ในที่สุดก็ขายทั้งเรือและบ้านหันมาวิ่งรถอยู่ที่โครา ช โดยวิ่งอยู่ระหว่าง ตลาดไทร – โคราช ซึ่งอยู่ในราวปี พ.ศ.2497-2498 วิ่งรถอยู่ได้ระยะหนึ่งก็เลิก เปลี่ยนเป็นรับจ้างซ่อมตัวถังรถ เอาเฉพาะค่าแรงสมัยนั้น ตัวถังรถใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่ ต่อมา เมื่อกิจการเจริญขึ้น จึงรับจ้างต่อตัวถังรถรถทั้งคันและกิจการก็เจริญขึ้น เรื่อยๆ มา ตอนแรกๆ ลูกค้า จะมีก็เฉพาะแถวโคราชเท่านั้น ปัจจุบันนี้(ปี 2517) ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นแถวภาคอีสาน เช่น อุบล อุดร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีภูเก็ต นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ในกรุงเทพก็ได้แก่ รถของ บขส. รถร่วม บขส. โดยที่คุณวิชัยไม่ได้รับทุนก่อนใหญ่หรือว่าได้รับมรด กตกทอดมาจากใครและไม่เคยคิดที่จะดำเนินกิจการใหญ่โตเ ช่นนี้มาก่อนเลย

เชิดชัยอุตสาหกรรม ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2499 (ในเว็บเชิดชัยบอกก่อตั้งปี พ.ศ.2501) เพื่อดำเนินกิจการประกอบตัวถังรถโดยสาร ต่อมาในปี พ.ศ.2515 จึงได้ทำสัญญากับบริษัท อีซูซุ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อทำอุตสาหกรรมประกอบตัวถังรถโดยสาร Monocoque (โมโนค็อก) ขึ้นภายในประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากบริษัท อุตสาหกรรมหนัก คาวาซากิ ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาของบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ.2515 เชิดชัยอุตสาหกรรมได้ทำการทดลองประกอบรถโดยสารแบบโมโ นค็อก จำนวน 2 คัน ซึ่งประสบความสำเร็จหลังจากทดลองวิ่งเป็นระยะทางกว่า 200,000 กม. และต่อมาในปี พ.ศ. 2516 เชิดชัยอุตสาหกรรมก็ได้เริ่มขยายกิจการเพื่อให้มีกำล ังการผลิตขนาดใหญ่ จนตราบเท่าทุกวันนี้(ปี 2517)

วิธีการต่อตัวถังรถโดยสาร

ปัจจุบัน เชิดชัยอุตสาหกรรมรับงานต่อตัวถังรถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.แบบโมโนค็อก (Monocoque)
2.แบบทั่วไป



1. แบบโมโนค็อก (Monocoque) คำว่า Monocoque หมายถึงโครงสร้างที่ติดต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว โครงสร้างแบบนี้ ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวถังเครื่องบินโดยสาร และอากาศยานอื่นๆ เป็นอย่างดี
การต่อตัวถังรถแบบ Monocoque มีส่วนประกอบด้วยกัน 5 ชิ้น คือ แผงด้านซ้าย-ด้านขวา 2 ชิ้น ด้านหน้า-ด้านหลัง 2 ชิ้น และหลังคา 1 ชิ้น รวม 5 ชิ้น การต่อแบบ Monocoque นี้ ต้องย้ำแผงทั้งหมดกับอลูมิเนียมให้เรียบร้อยเสียก่อน รวมทั้งด้านหน้า ด้านหลังและหลังคา เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงยกแผงทั้งหมด ทั้งด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง และหลังคา ขึ้นประกอบก็จะเสร็จสมบูรณ์แบบ ทำให้ไม่เปลืองเวลา วิธีการต่อตัวถังแบบ Monocoque ซึ่งโรงงานเชิดชัย ได้ดำเนินงานกับบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด นั้น มีขบวนการปฏิบัติดังแผนภาพต่อไปนี้



จากแผนภาพ ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทมิตซูบิชิ จะส่งชิ้นส่วนรถโดยสารเข้ามาในรูป CKD (CKD = Completely Knocked Down คือ รถที่ประกอบในประเทศ โดยชิ้นส่วนต่างๆ จะมาจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ประกอบขึ้นมาเป็นรถ 1 คัน ซึ่งตรงกันข้ามกับ CBU = Completely Built Up จะเป็นรถที่ประกอบสำเร็จรูปแล้ว จากต่างประเทศ เช่น รถบัสจีนรุ่นแรกๆ ) แล้วจากนั้น ก็ส่งให้โรงงานเชิดชัยต่อตัวถังแบบ Monocoque แล้วส่งให้บริษัทมิตซูบิชิ และจำหน่ายให้ลูกค้าต่อไป หรือในทางปฏิบัติ ลูกค้าอาจจะติดต่อผ่านทางโรงงานเชิดชัยก็ได้ แต่ในการต่อตัวถังนั้น จะต้องดำเนินไปตามแบบที่ทางบริษัทมิตซูบิชิกำหนดไว้เ ท่านั้น
รถโดยสารที่ต่อตัวถังแบบ Monocoque จะมั่นคง ประหยัด น้ำหนักไม่มากจนเกินไป และผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกสบาย เนื่องจากเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนภายในรถ ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็มี มาตรฐาน ทางด้านความปลอดภัยสูงขึ้นอีกด้วย



2. แบบทั่วไป การต่อตัวถังประเภทนี้ ทำงานได้ล่าช้ามาก โครงสร้างและแบบตัวถังเป็นแบบรถ HINO BENZ หรือรถอื่นๆ ทั่วๆ ไป ซึ่งต้องขึ้นโครงก่อน ถ้าเป็นเสาโค้งก็ขึ้นทีละต้น แผงข้างย้ำอลูมิเนียมเสร็จ หน้า-หลังหุ้มอะลูมิเนียม แล้วจึงมาย้ำหลังคาอีกทีหนึ่ง แบบนี้ทำให้งานล่าช้ามาก

การต่อตัวถังแต่ละคันนั้น น้ำหนักจะไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็น Monocoque แล้ว น้ำหนักจะเท่ากัน ส่วนรถ BENZ หรือรถอื่นๆ นั้นน้ำหนักจะเท่ากันหรือไม่ สาเหตุมาจากรถที่ทำลวดลาย กับรถที่ไม่ทำลวดลาย ถ้าเป็นรถที่ทำลวดลาย น้ำหนักจะมากกว่า เพราะรถลวดลายนั้นใช้สแตนเลสมาก ทั้งนี้เพราะน้ำหนักระหว่างเหล็กกับอลูมิเนียมเป็น 1 ต่อ 4 ถ้าเป็นสแตนเลสกับอลูมิเนียมแล้ว น้ำหนัก 1 ต่อ 6 ดังนั้น ทำให้น้ำหนักของรถเพิ่มไปด้วย รถคันหนึ่งยาว 12 เมตร น้ำหนักธรรมดาประมาณ 9 ตันกว่าๆ แต่เมื่อใช้สแตนเลสแล้ว จะตกอยู่ในราว 10 ตันกว่าๆ เมื่อเปรียบเทียบดูน้ำหนักจะแตกต่างกัน 1 ตันกว่าๆ เรื่องน้ำหนักนี้ เมื่อคิดถึงความสิ้นเปลืองของยางแล้ว จะเห็นว่าตัวถังรถยนต์อยู่ได้ 5 ปี แต่ว่า 5 ปีนี้ เจ้าของรถยนต์ต้องเสียค่ายางเท่าไร? ฉะนั้น การต่อรถที่มีลวดลาย ก็เท่ากับเพิ่มน้ำหนักรถให้มากขึ้น ไม่มีประโยชน์ ทำให้เสียทรัพย์และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย



ค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถังรถ

ค่าจ้างต่อตัวถัง ถ้าเป็นรถ BENZ ประมาณคันละ 250,000-260,000 บาท (ราคาในตอนนั้น) ถ้าเป็น ISUZU ประมาณคันละ 240,000-250,000 บาท (ราคาในตอนนั้น) ถ้าเป็นรถแอร์ของ ISUZU กับของ BENZ ค่าจ้างต่อประมาณคันละ 500,000 บาท รวมทั้งค่าแอร์ด้วย ถ้าเป็นแอร์ของ Thermoring เฉพาะค่าแอร์ ประมาณเครื่องละ 175,000 บาท ถ้าเป็นของ KIKI ประมาณเครื่องละ 145,000 บาท เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อมีรายได้มาก รายจ่ายก็มาก โรงงานมีคนงานประมาณ 700 กว่าคน ค่าแรงตั้งแต่ 18 บาท ถึง 120 บาทต่อวัน และก็ต้องจ่ายเป็นรายเดือนอีก รถที่ต่อจากโรงงานคันหนึ่ง ค่าแรงไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท หักผลกำไรแล้วคันหนึ่ง โรงงานจะได้ประมาณ 10% อย่างมากไม่เกิน 15% สรุปแล้วคันหนึ่งได้กำไรสุทธิประมาณ 10,000 บาท อาศัยว่าทางอู่ต่อมาก เดือนหนึ่งประมาณ 20 คัน แต่ถ้าโรงงานใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เดือนหนึ่งจะออกมาได้ประมาณ 30-40 คัน แต่ว่าเดือนหนึ่งทางโรงงานจะต้องจ่ายเงินเดือนให้คนง านประมาณ 300,000-400,000 บาท

ข้อกำหนดของทางราชการ

ในการต่อตัวถังรถก็ต้องมีข้อกำหนด ทางอู่จะต้องต่อให้ได้ตามแบบหรือข้อกำหนดของกรมการขน ส่งทางบกบังคับไว้ จะนอกเหนือไปจากนั้นไม่ได้
ข้อกำหนดนายทะเบียนการขนส่ง พ.ศ.2506 เรื่องลักษณะและชนิดของรถบรรทุกคนโดยสารได้เกิน 17 คน ที่ใช้ประโยชน์ในการขนส่งสาธารณะ ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.ขนาด
1.ความกว้าง วัดส่วนกว้างของตัวถังต้องไม่เกิน 2.50 เมตร
2.ความยาว วัดจากกันชนหน้าจดถึงกันชนท้ายสุดของตัวถังต้องไม่เก ิน 10 เมตร (แก้ไขเป็น 12 เมตร และในปี 2553 นี้เปลี่ยนเป็น 15 เมตร) แต่ทั้งนี้ ต้องไม่มีการเลื่อนช่วงล้อให้ยาวหรือสั้นกว่าที่โรงง านผู้ผลิตออกแบบไว้
3.ความสูง วัดจากส่วนต่ำสุดจากกึ่งกลางของหลังคาภายในรถตามแนวด ิ่ง ถึงพื้นโดยสาร 1.75 เมตร ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +/- 3 ซม.
4.ช่วงห้อยท้าย หรือความยาวจากของตัวถังวัดจากจุดศูนย์กลางของเพลาหล ังถึงสุดท้ายรถ ไม่รวมกันชนต้องไม่เกิน 50% ของช่วงล้อ สำหรับรถยนต์ชนิดคันบังคับหน้า (เครื่องหน้า) อาจจะมีช่วงห้อยท้ายได้ถึง 60% ของช่วงล้อ
5.ตัวถัง หรือส่วนประกอบของตัวถัง ยกเว้นกระจกเงาส่องหลัง ต้องไม่ยื่นออกมาด้านข้างเกินยางด้านนอก 15 ซม.
ข้างต้นนี้ เป็นข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทางโรงงานต้องต่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนด คุณวิชัยได้แจ้งให้ทราบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีรถ HINO เครื่องท้าย ซึ่งเป็นรถต่อมาจากนอก ได้ทำการตรวจสภาพที่กองวิศวกรรม กรมการขนส่งทางบกให้ผ่านการตรวจไป ปรากฎว่าเมื่อวัดช่วงห้อยท้าย ดูแล้วยาวถึง 70 % ของช่วงล้อ ทางโรงงานก็ได้ไปสอบถามทางกองวิศวกรรม กรมการขนส่งทางบก แล้วก็ได้รับคำตอบว่า อันนี้ถือเป็นสเป็คนอก เมื่อเปรียบเทียบดูในแง่ของความปลอดภัยระหว่างรถเครื ่องหน้ากับรถเครื่องท้ายที่มีช่วงห้อยท้ายยาวได้ถึง 70% ของช่วงล้อ รถ HINO เป็นรถเครื่องท้าย น้ำหนักก็ต้องลงทางด้านท้ายมาก เมื่อช่วงห้แยท้ายยาว สมมติว่าคนโดยสารอยู่ทางท้ายหรือมีน้ำหนักลงอยู่ทางด ้านท้ายมากๆ ก็จะทำให้หน้ารถลอย หรือกระดกในขณะที่ใช้ความเร็วสูงๆ ทำให้บังคับยาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ BENZ หรือรถอื่นๆ ทั่วๆ ไป ที่มีเครื่องอยู่ข้างหน้า ตัวเครื่องยนต์จะล้ำออกไปหน้าคาน น้ำหนักก็จะลงข้างหน้ามาก ทีนี้ยางหน้าเป็นยางเดี่ยว เมื่อน้ำหนักหรือคนโดยสารอยู่ข้างหน้ามาก จะทำให้ยางสึกหรอได้เร็ว หรือระเบิดได้ง่าย แต่เมื่อให้ช่วงห้อยท้ายของรถ BENZ หรือรถเครื่องหน้าทั่วๆ ไป เป็น 70 % ของช่วงล้อ ก็จะทำให้น้ำหนักลงที่ล้อหลัง ที่นี้ยางล้อหลังเป็นยางคู่อันนี้ไม่ต้องเป็นห่วง ก็จะทำให้แบ่งเบาน้ำหนักลงที่ล้อหน้าไปได้ เมื่อช่วงห้อยท้ายได้ 70% ของช่วงล้อ ก็จะทำให้ยางหน้าไม่สึกหรอ ยากแก่การระเบิด ที่นั่งของคนโดยสารก็จะนั่งกันอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องแออัดกันเหมือนทุกวันนี้ นั่นคือ ทางโรงงานจะไม่เพิ่มที่นั่ง แต่จะขยายที่นั่งให้ห่างออกไปช่วงห้อยท้าย 70% ของช่วงล้อนี้ ความยาวของรถยาวไม่เกิน 12 เมตร เช่นกัน และคุณวิชัยสงสัยว่า ทำไมจึงตรวจสภาพให้รถ HINO ซึ่งต่อจากนอก มีช่วงห้อยท้ายยาวถึง 70% ของช่วงล้อ ส่วนรถ BENZ หรือรถอื่นที่มีเครื่องหน้าทั่วๆ ไป จึงให้แค่ 60% ของช่วงล้อ ทำไมไม่ให้ 70% ของช่วงล้อบ้าง การจะถือสเป็ครถนอกหรือรถใน ย่อมไม่เป็นการสมควร เพราะรถทั่วไป กรมการขนส่งทางบกก็ควบคุมภายใต้กฎหมาย

ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 05-01-2010, 02:28 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

เชิดชัยอุตวาหกรรม มุ่งที่จะประกอบตัวถังรถโดยสารให้ได้ทั้งปริมาณและคุ ณภาพ โดยได้ช่างซึ่งมีความชำนาญในการต่อตัวถังมาจากประเทศ ญี่ปุ่น และมีเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านเครื่อ งกล โดยเฉพาะมาคอยช่วยเหลือ ส่วนแรงงานด้านอื่นๆ ทางโรงงานได้ว่าจ้างนักเรียนช่างกลและเทนิค หรือผู้สำเร็จทางเครื่องมือกลเทคนิคเข้ามาทำงาน โดยหวังว่าเขาเหล่านี้ เมื่อปฏิบัติงานไปได้ระยะหนึ่งแล้ว จะมีความคิดดัดแปลงและทำงานได้ดีกว่าคนงานที่ได้มาจา กบุคคลซึ่งไม่เคยผ่านการศึกษาทางด้านเครื่องมือกลมาก ่อนเลย นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในอนาคตทางโรงงาน น่าจะได้ทำทะเบียนประวัติของรถแต่ละคันที่ต่อตัวถังจ ากโรงงานไป เพื่อทางโรงงานจะได้ทราบข้อมูลจากผู้ใช้รถรายงานข้อบ กพร่องต่างๆ เมื่อนำรถซึ่งต่อตัวถังที่โรงงานออกไปใช้งานเป็นระยะ ๆ เช่น เดือนแรก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี และช่วงอื่นๆ เพื่อทางโรงงานจะได้ทราบว่า มีส่วนใดบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคต เพราะทางโรงงานต้องการลูกค้าที่สั่งต่อรถใหม่เพิ่ม เนื่องจากการดำเนินกิจการเจริญขึ้น มิใช่ลูกค้าที่สั่งต่อรถเพิ่ม เพื่อทดแทนคันเก่าซึ่งประสบอุบัติเหตุ นอกจากนั้นเมื่อกิจการของโรงงานขยายตัวมากขึ้น การจัดการด้านแรงงานน่าจะได้รับการพิจารณาอย่างใกล้ช ิด ทั้งนี้เพราะว่า งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความชำนาญในการปฏิบัติของเจ้า หน้าที่ เมื่อต้องใช้คนซึ่งต้องทำงานเฉพาะด้านด้วยความชำนาญ แล้ว การสับเปลี่ยนตัวหรือการฝึกฝนผู้ที่จะมาปฏิบัติหน้าท ี่แทนในโอกาสต่างๆ จะมีส่วนช่วยให้ผลงานของโรงงานแต่ละชิ้น ได้มาตรฐานกันยิ่งขึ้น แบบแผนในการปฏิบัติงาน ก็ควรจะได้รับการพิจารณากำหนดให้แน่นอน เพื่อช่วยให้กระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่ งขึ้น

ประวัติย่อๆ (ข้อมูลจากเว็บเชิดชัย)

2506 เริ่มประกอบตัวถังรถโดยสารจากไม้
2508 เป็เน้จาแรกที่ริเริ่มการประกอบตัวถังรถโดยสารด้วยเห ล็ก
2518 ทำสัญญาร่วมกันกับอีซูซุในการผลิตตัวถังรถโดยสารแบบโ มโนค็อก
2530 ประกอบตัวถังรถโดยสารบนแซสซีส์อีซูซุครบ 1,200 คัน
2531 ส่งออกรถโดยสารไปมาเลเซีย 25 คัน
2534 เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศรถโดยสารยี่ห้อ Hispacold
2538 เป็นตัวแทนจำหน่ายแซสซีส์และเครื่องยนต์รถโดยสารยี่ห ้อวอลโว่

กำลังการผลิต (ข้อมูลจากเว็บเชิดชัย)

2506 กำลังการผลิต 4 คันต่อปี (เฉลี่ยคันละ 3 เดือน)
2510 กำลังการผลิต 1 คันต่อเดือน
2516 กำลังการผลิต 10 คันต่อเดือน
2547 กำลังการผลิต 90 คันต่อเดือน
2551 กำลังการผลิต 120 คันต่อเดือน

ประกอบตัวถังรวยจนไม่รู้จะยังไงแล้วนะเจ๊ ล่าสุดไปเปิดบริษัทรถมินิบัส ขสมก. ชื่อ เกียวเวิล์ด ชื่อยังกะสวนสนุกเลย ฮ่าๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 05-01-2010, 04:05 PM
รูปส่วนตัว ช้อปเปอร์476
ช้อปเปอร์476 ช้อปเปอร์476 is offline
NETWORK - RTT
 
วันที่สมัคร: Nov 2009
กระทู้: 1,363
มาตรฐาน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแน่นๆของบ.เชิดชัยอุตสาหกรรมคร ับ
__________________
รถทัวร์ไทยสายตะวันออก((บางละมุง))
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 05-01-2010, 06:22 PM
รูปส่วนตัว teenoy
teenoy teenoy is offline
System & Operation
 
วันที่สมัคร: Sep 2008
กระทู้: 3,020
มาตรฐาน

ยอกเยี่ยมเลยครับชอบแบบโมโนค็อกจังเลย
__________________

www.RotTourThai.com

รถทัวร์ไทยสายแข็งตะวันออก(((สัตหีบ)))
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 05-01-2010, 10:00 PM
รูปส่วนตัว nikorn
nikorn nikorn is offline
System & Operation
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
กระทู้: 5,134
มาตรฐาน

สุดยอดเลยครับ
อย่างนี้น่าจะจัดไปเยี่ยมชมอู่เชิดชัย บ้างนะครับ
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 05-01-2010, 10:52 PM
รูปส่วนตัว Bank8183
Bank8183 Bank8183 is offline
NETWORK - RTT
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
กระทู้: 1,330
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Bank8183
มาตรฐาน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่พงษ์

Monocoque มันดีอย่างนี้นี่เอง ผมชอบแบบนี้
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 05-04-2010, 10:38 PM
รูปส่วนตัว UBNavigator
UBNavigator UBNavigator is offline
NETWORK - RTT
 
วันที่สมัคร: Apr 2008
กระทู้: 1,587
มาตรฐาน

อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ น้านิกร อ่านกระทู้
สุดยอดเลยครับ
อย่างนี้น่าจะจัดไปเยี่ยมชมอู่เชิดชัย บ้างนะครับ
เห็นด้วยกับน้านิกรอย่างยิ่ง

ไปเยี่ยมชมอู่เชิดชัยกันเถิด


:emo_toon08:
__________________
ยงฺกมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺลยาณํ วาปาปกํ วาตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ
จักทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จักต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆสืบไป
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
ตอบกลับ



กฎการส่งข้อความ
คุณไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้
คุณไม่สามารถตอบกระทู้ได้
คุณไม่สามารถแนบไฟล์ได้
คุณไม่สามารถแก้ไขกระทู้ของคุณเองได้

โค้ด vB ใช้ได้
[IMG] โค้ด ใช้ได้
โค้ด HTML ใช้ได้
กระโดดไป


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:46 AM


Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.